สำหรับพื้นคลังสินค้าหรือโรงงานที่ก่อสร้างบนพื้นดินที่มีการทรุดตัวน้อย สามารถบดอัดดินให้มีกำลังรับน้ำหนักบรรทุกได้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องรับน้ำหนักจรหลายๆตันต่อตารางเมตร พื้นวางบนดินเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับพื้นที่ที่มีกำลังอัดเพียงพอกับการรับน้ำหนัก เพราะประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งค่าเสาเข็มและเหล็กเสริม มากกว่าพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่วางบนเสาเข็มที่นิยมใช้กันในสถานที่ก่อสร้างที่เป็นดินอ่อน พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กวางบนดิน (R.C. Slab on Ground) จะใช้ดินด้านล่างพื้นรับน้ำหนักโดยตรง วิธีการนี้จำเป็นต้องมีคัดเลือกประเภทดินให้เหมาะสม และต้องบดอัดดินให้ได้มาตรฐานเป็นชั้นๆ เหมือนการทำถนนหรือลานคอนกรีต การจัดการงานดินโดยใช้เครื่องจักรปรับแต่งดิน ดังตัวอย่างในรูปที่ 1 เตรียมทำการบดอัดดินด้วยรถบดเป็นชั้นๆ ดังรูปที่ 2 เมื่อดินและหินคลุกบดอัดได้ตามเกณฑ์ หาค่าความหนาแน่นดินที่บดอัดหน้างาน ด้วยวิธี Sand cone method ดังรูปที่ 3 ให้ได้ความหนาแน่นแห้งของดินในสนามไม่ต่ำกว่า 95% Modified Proctor ในห้องทดลอง เป็นต้น เมื่อบดอัดได้ตามเกณฑ์ จากนั้นปูแผ่นพลาสติก วางเหล็กเสริมซึ่งใช้ปริมาณเหล็กน้อยเพียงแค่เหล็กกันแตกเนื่องจากอุณหภูมิ(Temperature Steel) วางเหล็กเสริม หาระดับการเทคอนกรีตของพื้นโดยใช้กล้องสำรวจ และ เทคอนกรีตจนเสร็จ ดังรูปที่ 4 จากนั้นก็ทำการปรับแต่งผิวให้เรียบด้วยเครื่องขัดมันโดยอาจจะมีการทำ พื้น Floor Hardener ที่ใช้ทำให้ผิวพื้นมีความแกร่งมากขึ้น Previous Post EP.21 ประเภทของพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่ใช้สำหรับคลังสินค้า