Engineering Knowledge by Mr.Easy EP10
รอยต่อของโครงสร้างเหล็กแบบสลักเกลียว (Bolting Connections)
งานก่อสร้างอาคารโครงสร้างเหล็กสําเร็จรูปจะประกอบชิ้นส่วนด้วยการเชื่อมในโรงงาน ที่ชิ้นส่วนโครงสร้างนี้ต้องมีขนาดมิติและนํ้าหนักเหมาะสมกับรถบรรทุกขนส่งหรือตู้ Container
ตลอดจนนํ้าหนักที่เหมาะสมสําหรับเครนที่ใช้ในการประกอบติดตั้ง ดังนั้นรอยต่อแต่ละชิ้นส่วนโครงเหล็กมีหลายวิธีดังต่อไปนี้
ตลอดจนนํ้าหนักที่เหมาะสมสําหรับเครนที่ใช้ในการประกอบติดตั้ง ดังนั้นรอยต่อแต่ละชิ้นส่วนโครงเหล็กมีหลายวิธีดังต่อไปนี้
- การใช้หมุดยํ้า (Riveting) พบเห็นได้ที่จุดต่อโครงสร้างสะพานสมเด็จพระพุทธฯ สะพานกรุงเทพฯ
- การใช้สลักเกลียว (Bolting) เพื่อประกอบติดตั้งโครงสร้างเหล็กสําเร็จรูป(PEB)ที่หน้างานฯ
- การเชื่อม (Welding) ใช้ประกอบชิ้นส่วนในโรงงานและหน้าหน่วยงานก่อสร้างในบทความนี้ขอนําเสนอรอยต่อแบบสลักเกลียว(Bolting)ในการประกอบโครงสร้างเหล็กโดยวิธีการนี้สามารถติดตั้งง่าย รวดเร็ว มาตรฐานและปลอดภัยกว่าธีอื่น ๆ ตําแหน่งรอยต่อที่สําคัญมีดังต่อไปนี้
- รอยต่อระหว่าางตอมอคอนกรีตเสริมเหล็กและเสาเหล็ก(RC. Pier and Steel Column)
- รอยต่อระหว่างเสาเหล็กและเสาเหล็ก (Steel Column and Steel Column)
- รอยต่อระหว่างเสาเหล็กและคานเหล็ก (Steel Column and Steel Beam)
- รอยต่อระหว่างคานเหล็กและคานเหล็ก (Steel Beam and Steel Beam)
- รอยต่อระหว่างเสาเหล็กและจันทันเหล็ก (Steel Column and Steel Rafter)
- รอยต่อระหว่างจันทันเหล็กกับจันทันเหล็ก(Steel Rafter and Steel Rafter)
อย่างไรก็ตามรอยต่อเหล่านี้ใช้ Bolt and Nut (มีหลาย Grades) มีวิธีรายละเอียดหลายรูปแบบสําหรับการรับแรงต่าง ๆ รับแรงอัด แรงดึง แรงเฉือน และแรงดัดจะมีลักษณะของรอยต่อจะมีความแตกต่างกันติดตามใน EP. ต่อ ๆไปนะครับ
CR: รอยต่อเหล็กในงานสถาปัตยกรรม (Steel Connections)
#PEB #SteelStructure #Easybuild