สำหรับพื้นคลังสินค้าโดยทั่วไป ต้องการให้พื้นสามารถรับน้ำหนักบรรทุกจรที่สูงถึงสูงมาก (Live Load) ในปัจจุบันประเภทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่นิยมสร้างกัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1) พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กวางบนดิน(R.C. Slab on Ground) แสดงดังรูปที่ 1 และ 1.1
2) พื้นคอนกรีตวางบนเสาเข็ม(R.C. Slab on Pile) แสดงดังรูปที่ 2 และ 2.1
พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กวางบนดิน (R.C. Slab on Ground) จะใช้ดินด้านล่างพื้นรับน้ำหนักโดยตรง วิธีการนี้จำเป็นต้องมีคัดเลือกประเภทดินให้เหมาะสม และต้องบดอัดดินให้ได้มาตรฐานเป็นชั้นๆ เหมือนการทำถนนหรือลานคอนกรีต ประเภทนี้มีการใช้ปริมาณเหล็กน้อยเพียงแค่เหล็กกันแตกเนื่องจากอุณหภูมิ(Temperature Steel) อย่างไรก็ตามในกรณีอาคารหลักที่มีฐานรากเสาเข็มจะมีคานคอดิน(Ground Beam: GB) และมีพื้นคอนกรีตวางบนดินวางอยู่ในระดับเดียวกัน เมื่อใช้งานไประยะเวลาหนึ่ง พื้นที่มีอัตราการทรุดตัวมากกว่าการทรุดตัวของอาคารหลักที่แตกต่างกัน ทำให้จำเป็นต้องมีการแยกรอยต่อมิให้ติดกันเพื่อมิให้พื้นถ่ายน้ำหนักไปยังคานซึ่งก่อให้เกิดการแตกร้าวเนื่องจากการทรุดตัวต่างกัน(Differential Settlement)
พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กวางบนเสาเข็ม (R.C. Slab on Pile) เป็นพื้นไร้คานโดยทำหน้าที่ถ่ายน้ำหนักบรรทุกลงสู่เสาเข็ม โดยปกติมักจะตอกเสาเข็มแบบปูพรมเต็มพื้นที่ ซึ่งจำนวน ขนาด กำลังรับน้ำหนักของเสาเข็ม และระยะห่างของเสาเข็มขึ้นอยู่กับน้ำหนักบรรทุกตายตัว และน้ำหนักบรรทุกจร (DL.+LL.)
พื้นประเภทนี้เหมาะสำหรับการก่อสร้างบนพื้นดินอ่อนที่มีอัตราการทรุดตัวมาก อีกทั้งต้องการรับน้ำหนักบรรทุกที่สูง และต้องการให้มีการทรุดตัวต่ำ ลดการทรุดตัวที่แตกต่างกันระหว่างพื้นและโครงสร้างอาคาร พื้นประเภทนี้ต้องการปริมาณเหล็กเสริมมากกว่าแบบวางบนดิน เพราะหน้าตัดพื้นคอนกรีตเหล็กเสริม จะรับโมเมนต์ดัด (Bending Moment) จึงต้องมีปริมาณเหล็กเสริมที่ใช้เป็นไปตามการคำนวณของวิศวกร และส่วนใหญ่จะมีเหล็กเสริม 2 ชั้น และอาจมีการเสริมเหล็กพิเศษบริเวณบนเสาเข็มที่มีโมเมนต์ลบมาก ดังรูปที่ 3
พื้นประเภทนี้เหมาะสำหรับการก่อสร้างบนพื้นดินอ่อนที่มีอัตราการทรุดตัวมาก อีกทั้งต้องการรับน้ำหนักบรรทุกที่สูง และต้องการให้มีการทรุดตัวต่ำ ลดการทรุดตัวที่แตกต่างกันระหว่างพื้นและโครงสร้างอาคาร พื้นประเภทนี้ต้องการปริมาณเหล็กเสริมมากกว่าแบบวางบนดิน เพราะหน้าตัดพื้นคอนกรีตเหล็กเสริม จะรับโมเมนต์ดัด (Bending Moment) จึงต้องมีปริมาณเหล็กเสริมที่ใช้เป็นไปตามการคำนวณของวิศวกร และส่วนใหญ่จะมีเหล็กเสริม 2 ชั้น และอาจมีการเสริมเหล็กพิเศษบริเวณบนเสาเข็มที่มีโมเมนต์ลบมาก ดังรูปที่ 3
พื้นไร้คานคอนกรีตเสริมเหล็กวางบนเสาเข็มสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ คือ 1) พื้นไร้คานท้องเรียบ(Flat Plate หรือ Flat Slab) และ 2) พื้นไร้คานมีแป้นหัวเสา(Flat Slab with Drop Panel) ทั้งนี้พื้นที่มี Drop Panel จะเพิ่มความสามารถในการรับแรงเฉือนทะลุ และเพิ่มการรับโมเมนต์ลบบริเวณหัวเสาเข็มได้ดีขึ้น