การวางพาดแปแบบต่อเนื่อง(Continuous Beam) โดยการทับซ้อน จะมีพื้นที่หน้าตัดเป็น 2 เท่า และระยะทาบ (Overlap) เป็นไปตามบริษัทผู้ผลิตส่งผลให้บริเวณทับซ้อนมีความแข็งแรง และสามารถรับน้ำหนักได้สูงขึ้น เมื่อเทียบค่าโมเมนต์ดัดที่เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์โครงสร้างแปแบบพาดช่วงเดียว(Simple Beam) และแบบต่อเนื่อง(Continuous Beam) ดังแสดงในรูปที่ 2 ผลการวิเคราะห์โครงสร้างมีค่าโมเมนต์ลบสูงสุดของแบบแปต่อเนื่องมีค่าเท่ากับ 685.714 กก.–ม. ในขณะที่แบบพาดแปช่วงเดียวเท่ากับ ศูนย์ ส่วนค่าโมเมนต์บวกของแปต่อเนื่องมีค่าเท่ากับ 493.963 กก.–ม. ในขณะที่แบบพาดแปต่อเนื่องเท่ากับ 800.00 กก.–ม. เมื่อนำค่าการวิเคราะห์โครงสร้างไปออกแบบเพื่อหาขนาดหน้าตัดของแป Z จะพบว่า แปแบบพาดต่อเนื่องที่มีค่าโมเมนต์ดัดน้อยกว่า อีกทั้งเป็นโมเมนต์ที่ตำแหน่งที่มีการทับซ้อนแปตามระยะทาบ (Over Lap) ตามผู้ผลิต ส่งผลให้ใช้ขนาดหน้าตัดที่ออกแบบน้อยกว่า ทำให้ค่าใช้จ่ายโดยรวมถูกกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับแบบการวิเคราะห์โครงสร้างแบบแปพาดช่วงเดียว ทำให้แปตัว Z ซึ่งสามารถทำการต่อแบบทับซ้อนได้เป็นที่นิยมใช้ในโครงสร้าง PEB มากกว่า Previous Post ระบบ WMS คืออะไร ? ตอบโจทย์ธุรกิจคลังสินค้าและโกดัง Next Post รวม 6 เทคนิคการวางผังโรงงาน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต