รู้ก่อนสร้าง ! ใบรง.4 คืออะไร ? ทำไมโรงงานต้องมี

ผู้ประกอบการต้องรู้ ใบรง.4 คืออะไร มีขั้นตอนการขอใบอนุญาตอย่างไร และจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าตั้งโรงงานโดยไม่มีใบรง.4 อย่างถูกต้อง

การตั้งโรงงาน

ใบรง.4 เป็นใบอนุญาตประกอบกิจการสำหรับโรงงานกลุ่มที่ 3 ที่เจ้าของธุรกิจต้องยื่นขอตามพ.ร.บ. หากตั้งโรงงานโดยไม่มีใบอนุญาตจะมีโทษปรับหรือจำคุกตามกฎหมาย

ไม่ว่าจะตั้งโรงงานประเภทใด ทำเลที่ตั้งของโรงงานก็มีเงื่อนไขว่าต้องไม่อยู่ในย่านชุมชน หมู่บ้านที่มีคนพักอาศัยอยู่ รวมถึงต้องไปสร้างความเดือดร้อนและก่อให้เกิดอันตรายด้วย

ก่อนจะประกอบกิจการโรงงาน สิ่งที่ควรจะต้องรู้ก่อนก็คือ ขั้นตอนการขออนุญาตจัดตั้งโรงงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย วันนี้ IYARA WANICH  ขอพามารู้จักว่าใบรง.4 คืออะไร มีขั้นตอนการขออย่างไร ถ้าไม่ได้ขออนุญาตให้ถูกต้องจะเกิดอะไรขึ้น

ใบรง.4 คืออะไร ?

การตั้งโรงงาน

ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน หรือเรียกย่อ ๆ ว่าใบรง.4 นี่คือเอกสารสำคัญที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจะทำการออกให้โรงงานประเภทที่ 3 ตามพ.ร.บ.โรงงานปี 2535 เป็นการอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานได้ ในปัจจุบันใบนี้ไม่มีวันหมดอายุ จึงไม่ต้องทำเรื่องต่ออายุบ่อย ๆ 

ใบรง.4 เหมือนเป็นการควบคุมดูแลโรงงานอุตสาหกรรมในเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคม ถึงแม้จะไม่ได้กำหนดวันหมดอายุ แต่ผู้ประกอบการก็ต้องแสดงข้อมูลที่ยืนยันว่าโรงงานนั้นประกอบกิจการอย่างถูกต้องตามกฎหมายต่อเจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม 

โรงงานมีกี่ประเภท

โรงงาน โกดังสินค้า

กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้มีการแบ่งโรงงานออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • โรงงานประเภทที่ 1 เป็นกลุ่มที่ไม่ต้องทำเรื่องขออนุญาตจัดต้องโรงงาน แต่มีข้อกำหนดคือ มีเครื่องจักรไม่เกิน 20 แรงม้า จำนวนคนงานไม่เกิน 20 คน เช่น โรงงานซ่อมรองเท้า เครื่องหนัง เครื่องใช้ไฟฟ้า โรงงานล้างรถยนต์ โรงงานฟักไข่ด้วยตู้อบ เป็นต้น
  • โรงงานประเภทที่ 2 เป็นกลุ่มโรงงานที่มีเครื่องจักรขนาด 50-75 แรงม้า และจำนวนคนงาน 50-75 คน แต่ที่จริงก็ขึ้นอยู่กับประเภทของโรงงานด้วย บางประเภทก็ถูกจัดไปอยู่ในกลุ่มที่ 3 
  • โรงงานประเภทที่ 3 เป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่มีขนาดเครื่องจักรมากกว่า 75 แรงม้าและ จำนวนคนงานเกิน 75 คน รวมถึงโรงงานเกี่ยวกับไม้ หรือโรงงานฟอกสี ย้อมสี ฯลฯ ซึ่งกลุ่มนี้จำเป็นจะต้องขอใบอนุญาตรง.4 ให้ถูกต้องนั่นเอง

จะเกิดอะไรขึ้น หากตั้งโรงงานโดยไม่มีใบรง.4

หากตั้งโรงงานเพื่อประกอบกิจการ แต่โรงงานกลุ่มที่ 3 ไม่ได้ทำเรื่องขอใบอนุญาตรง.4 อย่างถูกต้อง ก็เหมือนเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย และมีโทษที่ผู้ประกอบการควรรู้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

4 ขั้นตอนการขอใบอนุญาตโรงงาน รง.4

การขอใบอนุญาตตั้งโรงงาน

1.เลือกทำเลตั้งโรงงานให้เหมาะสม

แน่นอนว่าการขอใบอนุญาตรง.4 สิ่งที่สำคัญมาก ๆ ก็คือทำเลโรงงาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ก่อนเลือกที่ตั้งก็ต้องเช็กให้ดี ๆ ก่อน โดย

    • โรงงานทุกประเภท จะต้องไม่ตั้งอยู่ย่านที่มีชุมชน หมู่บ้าน หรือคนพักอาศัยอยู่
    • โรงงานประเภทที่ 1 และ 2 จะต้องไม่ตั้งอยู่ใกล้กับพื้นที่สาธารณะอย่าง โรงเรียน หน่วยงาน วัด ในระยะ 50 เมตร 
    • โรงงานประเภทที่ 3 จะต้องอยู่ห่างจากสถานที่ที่ไว้ใช้ติดต่อสาธารณะมากกว่า  100  เมตร 

2.ประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมรอบโรงงาน

นอกจากจะต้องเลือกทำเลที่ตั้งตามกฎแล้ว ผู้ประกอบการโรงงานก็ควรจะประเมินสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวโรงงานด้วยว่าเหมาะสมไหม พื้นที่กว้างขวางเพียงพอต่อการดำเนินงานรึเปล่า และที่สำคัญจะต้องไม่ก่อให้เกิดอันตราย หรือสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้คนที่อาศัยอยู่ในละแวกใกล้เคียง เท่านี้การขอใบรง.4 ก็น่าจะไม่ยากอย่างที่คิด  

3.เตรียมเอกสารให้พร้อมสำหรับขอใบรง.4

ก่อนจะไปยื่นขอใบรง.4 เพื่อขออนุญาตตั้งโรงงานให้ถูกต้อง มาเช็กลิสต์เตรียมเอกสารให้พร้อมตามรายการนี้ก่อน 

  • ใบแจ้งประกอบกิจการโรงงานตามประเภทที่จัดตั้ง
  • หนังสือรับรองนิติบุคคล คัดสำเนาไม่เกิน 3 เดือน ในกรณีที่ต้องการขอในนามนิติบุคคล
  • สำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน หนังสือเดินทางของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม กรณีขอในนามบุคคลธรรมดา
  • หนังสือมอบอำนาจ
  • เอกสารสิทธิ์ในการใช้ที่ดิน  เช่น โฉนดที่ดินฉบับสำเนา หรือหนังสือแสดงสิทธิ์ที่ดิน
  • แปลนโรงงาน ที่มีวิศวกรลงนามรับรองความปลอดภัย
  • แผนผังการติดตั้งเครื่องจักร ที่มีวิศวกรลงนามรับรองความปลอดภัย
  • หนังสืออนุญาตก่อสร้างฉบับสำเนา
  • ขั้นตอนการผลิตโดยละเอียด
  • เอกสารอื่น ๆ เช่น รายงานประเมินความเสี่ยง

4.ยื่นขอใบรง.4 ให้เรียบร้อย

เมื่อเช็กเงื่อนไขและเตรียมเอกสารครบตามลิสต์ที่ระบุเรียบร้อยแล้ว ผู้ประกอบการก็สามารถนำเอกสารไปยื่นที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมของจังหวัด หรือยื่นแบบออนไลน์ผ่านระบบยื่นคำขออนุญาตประกอบกิจการโรงานแบบดิจิทัล หลังจากนั้นก็รอเจ้าหน้าที่พิจารณาประมาณ 30 วัน ถ้าหากไม่ได้รับการอนุมัติ ก็สามารถยื่นเรื่องอุทธรณ์เพื่อให้พิจารณาใหม่อีกครั้งได้

สรุป

สำหรับผู้ประกอบการโรงงานแล้ว การขอใบอนุญาตรง.4 ให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนดำเนินกิจการก็เป็นเรื่องที่สำคัญ จะได้ไม่ต้องเป็นกังวล ต้องมารับโทษปรับหรือจำคุกภายหลังนั่นเอง  สำหรับผู้ประกอบการโรงงาน ให้ IYARA WANICH เป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจ ด้วยคอนเซ็ปต์ One-Stop Service ไม่ว่าจะเป็นบริการออกแบบและก่อสร้างตามแบบของลูกค้า เรา รับสร้างโรงงานสำเร็จรูป EASYBUILD รวมถึง รับสร้างโกดัง ที่ผลิตด้วยโครงสร้างเหล็กคุณภาพสูง แข็งแรงและทนทานตามมาตรฐานหลักวิศวกรรม พร้อมทีมงานสถาปนิกและวิศวกรมากประสบการณ์ ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด เว้นระยะร่นได้ถูกต้องตามหลัก สบายใจหายห่วง  

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม