รวม 6 เทคนิคการวางผังโรงงาน เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต

ในการประกอบธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นสายงานการผลิต งานด้านโกดังสินค้า การสร้างโรงงานขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ก็ตาม ควรมีการออกแบบและการวางผังโรงงานให้ดี เพื่อให้สามารถใช้งานพื้นที่ภายในโรงงานได้อย่างคุ้มค่าเต็มประสิทธิภาพ พร้อมเอื้ออำนวยให้การทำงานเป็นไปได้สะดวก และประหยัดต้นทุนการผลิตมากขึ้น

ซึ่งเทคนิคสำคัญในการวางรูปแบบโรงงาน จำเป็นต้องเน้นถึงความสะดวกสบายในการทำงาน และเอื้อต่อการประสานงานระหว่างทีมได้อย่างราบรื่น ที่สำคัญ พื้นที่ต้องมีความยืดหยุ่น สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายและสามารถปรับเปลี่ยนต่อการใช้งานได้อย่างสะดวก

ในบทความนี้ IYARA WANICH ขอชวนผู้ประกอบการไปรู้จักกับการวางผังโรงงาน (Plant Layout) กับ 6 รูปแบบโรงงาน ที่หากนำมาปรับใช้ในการออกแบบพื้นที่ จะช่วยเพิ่มทั้งประสิทธิภาพการผลิตพร้อมลดต้นทุนได้มากยิ่งขึ้น

การวางผังโรงงาน (Plant Layout) คืออะไร ?

การวางผังโรงงาน (Plant Layout) คือการออกแบบเพื่อจัดสรรพื้นที่ภายในโรงงาน สำหรับติดตั้งเครื่องจักร จัดเรียงอุปกรณ์ วัสดุ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ รวมถึงพื้นที่ที่ใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากร เพื่อให้กระบวนการผลิตเกิดความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดต้นทุน และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ทีมงานกำลังช่วยกันทำการวางผังโรงงาน

ทำไมต้องวางผังโรงงาน ?

ตัวอย่างการวางผังโรงงาน

การวางผังโรงงาน (Plant Layout) มีประโยชน์ต่อธุรกิจโรงงานในหลาย ๆ ด้าน ดังต่อไปนี้

  • ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถใช้พื้นที่ภายในโรงงานได้อย่างคุ้มค่าและเต็มประสิทธิภาพ
  • ทำให้พื้นที่ในโรงงานแบ่งออกเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน จึงช่วยให้กระบวนการทำงาน สะดวก รวดเร็ว และเกิดความราบรื่นมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถช่วยประหยัดต้นทุนด้านเวลาได้เป็นอย่างดี
  • ลดการขนย้ายอุปกรณ์ วัตถุดิบต่าง ๆ เนื่องจากสามารถจัดวางไว้ในพื้นที่ปฏิบัติงานได้เลย เพราะมีการแบ่งสัดส่วนพื้นที่ปฏิบัติงานไว้อย่างชัดเจน
  • ติดตามการทำงานได้อย่างง่ายดาย เพราะมีการจัดวางแผนผังพื้นที่อย่างเป็นสัดส่วน ช่วยให้สามารถควบคุมการทำงานตามแผนได้ง่ายมากขึ้น

6 เทคนิคการวางผังโรงงานเสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิต

การวางผังโรงงานช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

1. การใช้พื้นที่คุ้มทุกตารางเมตร

สิ่งที่สำคัญในการวางผังโรงงานลำดับแรก ๆ ก็คือการออกแบบพื้นที่โรงงาน ว่าควรจัดวางอุปกรณ์หรือเครื่องจักรต่าง ๆ ให้สามารถใช้งานได้อย่างคุ้มค่าในทุก ๆ ตารางเมตรได้อย่างไร เพราะปัจจุบันต้นทุนที่ดินมีราคาสูงขึ้นทุกวัน จึงไม่ควรปล่อยให้เกิดพื้นที่ว่างโดยเปล่าประโยชน์ แต่หากมีการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า นอกจากจะช่วยให้การทำงานมีความสะดวกมากขึ้นแล้ว ยังสามารถช่วยลดต้นทุนในเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้อีกด้วย

2. สะดวกต่อการทำงานที่สุด

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญในการวางผังโรงงาน คือเรื่องของความสะดวกสบายในการทำงาน โดยแผนผังที่ดีควรจะช่วยให้การประสานงานระหว่างทีม หรือการทำงานของบุคลากรเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่ติดขัด สามารถหยิบใช้อุปกรณ์ หรือใช้งานเครื่องจักรต่าง ๆ ได้สะดวก ด้วยพื้นที่การทำงานที่จัดเรียงอย่างเป็นระบบมากที่สุด

3. ผังโรงงานแบบยืดหยุ่น

สำหรับธุรกิจโรงงานที่เป็นสายการผลิตนั้น แน่นอนว่าจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอ จึงทำให้จำเป็นต้องย้ายตำแหน่งอุปกรณ์ วัตถุดิบต่าง ๆ อยู่เรื่อย ๆ เพื่อให้สะดวกกับการทำงานของบุคลากรมากที่สุด เพราะฉะนั้น ในขั้นตอนการวางผังโรงงาน ก็ควรจะต้องมีความยืดหยุ่น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับทุก ๆ การเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนย้ายด้วย

4. ประหยัดต้นทุนการเคลื่อนย้าย

แน่นอนว่าในการสร้างโรงงานขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ นอกจากจะต้องมีความยืดหยุ่นของพื้นที่ เพื่อให้ตอบรับกับทุกการเปลี่ยนแปลงแล้ว ควรจะต้องช่วยให้ประหยัดทั้งเวลา งบประมาณ และแรงงานในการเคลื่อนย้ายด้วย โดยควรออกแบบให้มีแผนผังที่สามารถเคลื่อนย้ายสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะเครื่องจักร วัตถุดิบ หรือพื้นที่ในการทำงานของบุคลากร ทำให้ไม่ต้องวกไปวนมา อีกทั้งยังจะเป็นการหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุภายในโรงงานด้วย

5. ผังที่ช่วยคุ้มครองวัตถุดิบและเครื่องจักร

ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ เครื่องมือ วัตถุดิบ หรือเครื่องจักรต่าง ๆ ในโรงงาน ล้วนแล้วแต่เป็นทรัพย์สินที่มีค่าอย่างยิ่งสำหรับเจ้าของธุรกิจ เพราะฉะนั้นในการวางผังโรงงาน จึงต้องมีการออกแบบระบบเพื่อช่วยดูแลรักษาสภาพความปลอดภัยของสิ่งเหล่านี้ อย่างระบบป้องกันเพลิงไหม้ โจรกรรม หรือการป้องกันความชื้น รวมถึงแยกพื้นที่จัดเก็บสิ่งของที่ติดไฟได้ง่ายไว้ต่างหากด้วย

6. ถูกต้องตามกฎหมาย

สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการวางผังโรงงาน ก็คือการออกแบบให้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับ พ.ร.บ. ซึ่งต้องคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัย สุขภาพของบุคลากรที่ทำงานภายในโรงงานด้วย นอกจากจะช่วยลดปัญหาเรื่องสุขภาพ การเจ็บป่วยของแรงงาน ยังลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการทำงานอีกด้วย

เพิ่มประสิทธิภาพทุกการผลิต เลือกโรงงานสำเร็จรูป IYARA WANICH

ทั้งหมดนี้คงพอทำให้รู้จักเกี่ยวกับเทคนิคการวางผังโรงงาน (Plant Layout) ว่าควรต้องออกแบบอย่างไร เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และทำงานได้รวดเร็ว รวมถึงยังประหยัดต้นทุนในการทำธุรกิจอีกด้วย

สำหรับผู้ประกอบการโรงงาน คลังสินค้า หรือโกดัง ที่ต้องการสร้างโรงงานขนาดใหญ่ กลาง หรือ เล็ก ให้ IYARA WANICH เป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจ ด้วยคอนเซปต์ One-Stop Service ไม่ว่าจะเป็นบริการออกแบบและก่อสร้างตามแบบของลูกค้า เรารับสร้างโรงงานสำเร็จรูป EASYBUILD รวมถึงรับสร้างโกดังที่ผลิตด้วยโครงสร้างเหล็กคุณภาพสูง แข็งแรงและทนทานตามมาตรฐานหลักวิศวกรรม พร้อมทีมงานสถาปนิกและวิศวกรมากประสบการณ์ ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด เว้นระยะร่นได้ถูกต้องตามหลัก สบายใจหายห่วง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ติดต่อเรา

โทร

Line